อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ รัฐประหารฯ ซ้ำรอย กองทัพพม่าควบคุมตัวไว้แล้ว โดยโฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของเมียนมา เปิดเผยกับ CNN วันนี้ว่าอองซานซูจีที่ปรึกษาแห่งรัฐ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเมียนมาหลายคน ถูกกองทัพควบคุมตัวในกรุงเนปิดอว์
โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 30 ม.ค.64 กองทัพเมียนมา ที่นำโดย นายพล มินอ่องหล่าย ออกแถลงการณ์โต้ข่าวลือรัฐประหารว่า กองทัพจะปกป้องและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และเคารพกฎหมาย ท่ามกลางการออกแถลงการณ์ของทั่วโลกให้กองทัพเมียนมา ยึดมั่นในประชาธิปไตย
1.ส่อรัฐประหารฯ ซ้ำรอย ปี 2021
นายเมียว ยุน (Myo Nyunt) โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD เปิดเผยในเช้าวันนี้ว่า นอกจากนางอองซานซูจีแล้ว รัฐมนตรีหลายคนก็ถูกควบคุมตัวโดยทหาร “และดูเหมือนว่ากองทัพได้เข้าควบคุมเมืองหลวงไว้แล้ว” นอจากนึ้มีการตัดสัญญานโทรศัพท์ และอินเตอร์เนต ในกรุงเนปิดอว์ ตั้งแต่ 07.00 น.และยังคงมีการควบคุมตัวสมาชิกรัฐบาล มุขมนตรีของพรรค NLD ในแต่ละรัฐ อย่างต่อเนื่อง
“ผมต้องการจะบอกกับประชาชนของเราว่าอย่าตอบโต้อย่างผลีผลาม และผมต้องการให้พวกเขาทำตามกฏหมาย” นายเมียวกล่าว และคาดว่าตัวเขาก็คงจะถูกควบคุมตัวด้วยเช่นกัน
โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพเมียนมาในช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลังกองทัพชี้ว่ามีการทุจริตเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2020 ซึ่ง NLD ได้ประกาศชัยชนะอย่างถล่มทลาย แม้ว่าทางกองทัพได้เรียกร้องให้มีการสืบสวนเรื่องดังกล่าว ขณะที่มีรายงานว่าทหารอาจเข้ายึดอำนาจ แม้ว่านานาชาติเรียกร้องให้เมียนมายึดมั่นในประชาธิปไตย
ภาพนาง ออง ซาน ซูจี ขอบคุณรูปภาพจากสำนักข่าว CNN
2.นาง อองซานซูจี บุคคลที่ปลดปล่อยพม่าสู่โลกเสรี
นางอองซาน ซูจี (အောင်ဆန်းစုကြည်) เป็นอองซานจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เป็นผู้วางแผนให้นักศึกษา ประชาชน พระสงฆ์ลุกขึ้นต่อสู้ ขับไล่อังกฤษออกจากพม่าโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพญี่ปุ่นก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป้นบุตรของวีรบุรุษคนสำคัญของ “นายพล อู อองซาน” โดยผู้เป็นบิดาถูกสังหารโหดในวัย 32 ปี เมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 เบื้องหลังการลอบสังหารโหด “นายพล อู อองซาน” บิดาของนางออง ซาน ซูจีจนมาถึงปัจจุบันพม่ายังไม่ก้าวผ่านการรัฐประหารโดยทหารสักที โดยที่สำนักข่าว Deutsche Welle ของเยอรมนี ระบุว่า สถานการณ์ ณ เวลานี้ต้องถือว่ากองทัพได้เริ่มทำการรัฐประหารแล้ว
คณะรัฐประหารของเมียนม่า
3.ไทม์ไลน์การรัฐประหารในประเทศเมียนม่า
- 27 ม.ค. พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา กล่าวในงานให้โอวาทนักเรียนเตรียมทหารแห่งวิทยาลัยป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ โดยบอกว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่ของกฎหมายทั้งปวง แต่ “คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากคนไม่ปฏิบัติตาม” ทั้งนี้ถ้อยแถลงของ พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เมียวดีฉบับวันรุ่งขึ้นด้วย
- 28 ม.ค. มีการประชุมร่วมกันระหว่างตัวแทนรัฐบาลกับคณะทหาร ที่กรุงเนปิดอว์ ก่อนที่โฆษกพรรคเอ็นแอลดีจะออกมาเปิดเผยกับรอยเตอร์สว่า “ไม่ประสบความสำเร็จ” ในการหาทางออกจากวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น
- 29 ม.ค. ประชาชนผู้สนับสนุนพรรคยูเอสดีพีหลายร้อยคนชุมนุมประท้วง กกต. ทั้งที่กรุงเนปิดอว์และกรุงย่างกุ้ง แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและไม่มีรายงานการใช้ความรุนแรง
- 30 ม.ค. กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์ “สยบข่าวลือ” การก่อรัฐประหารที่ดังหนาหูตลอดสัปดาห์ โดยยืนยันว่าจะมุ่งมั่น “ปกป้องรัฐธรรมนูญและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด”
- 31 ม.ค. กองทัพเมียนมาแถลงการณ์ เรียกร้องให้บรรดานักการทูตต่างชาติในเมียนมาอย่าเพิ่งคาดเดาอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และขอให้นานาชาติ “อย่ายอมรับ” ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าเป็นเรื่องปกติ
- 1 ก.พ. โฆษกพรรคเอ็นแอลดีกล่าวกับบีบีซีว่า นาง ซู จี และ ผู้นำของพรรคหลายคน รวมทั้งประธานาธิบดี วิน เมี่ยน ถูกทหารพาตัวจากบ้านพักไปตั้งแต่ช่วงรุ่งสาง
กระแสข่าวก่อรัฐประหารในเมียนมา มีขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน จากกระแสความไม่พอใจผลการเลือกตั้ง ที่พรรค NLD ของนางซูจี ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย พรรค USDP ซึ่งเป็นพรรคทหาร เรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ